5. ความสัมพันธ์ในวงกลม
เรื่องวงกลม สำหรับเด็กป.1 (search)
นี่น่ะหรือหัวอกคนเป็นพ่อแม่พาลูกไปสอบราชนิวิช มาฟังพ่อแม่เขาคุยกัน พ่อแม่คนไหนเลี้ยงลูกแบบ "ฉันถูกของฉันอย่างนี้แหละ ก็เหมือนกบอยู่ในสระน้อย หรือแย่กว่านั้นก็กบในกะลานั่นแหละ"
http://community.momypedia.com/webboard_topic.aspx?tid=362461
อย่าคิดว่าลูกอ่านหนังสือออกก็พอแล้ว แน่แล้ว พ่อแม่ไม่มีเวลาสอนลูก สนามการต่อสู้ของการสอบเข้าป.1 หินสุด ๆ
เค้าเตรียมความพร้อมขนาดนี้ แล้วพ่อแม่หัวโบราณเต่าล้านปี ยังมัวแต่งมโข่งอยู่แต่ในกระดองของตัวเอง
แล้วจะให้ลูกสอบเข้าได้น่ะเหรอ คิดเล่น ๆ ก็รู้แล้ว่า ไม่มีทางเป็นไปได้
6 แสนบาทคุ้มเหรอกับการเข้าโรงเรียนสาธิตเรียน 12 ปี ที่เขาเรียกเงินเพื่อเข้า สาธิตมศว.ประสานมิตร (เออ อันนี้เรียกว่าคอรัปชั่นหรือเปล่านะ เราก็ไม่เคยสอบเข้าสาธิต ซะด้วย)
โรงเรียนของรัฐเรียกเอาเงินด้วยเหรอ (ไม่ใช่เรียนฟรี 12 ปีเหรอ) สมัยนี้ น่าจะใช่ เคยคุยกับน้องคนหนึ่งเขาบอก ขนาดลูกของนักแสดงคนหนึ่งจะให้ลูกเข้าสาธิต (ไม่รู้ที่ไหน) ยังต้องเตรียมเงินให้โรงเรียนเป็นล้าน เขามีโควตาของครู อาจารย์ ส่วนเด็กที่สอบเข้าได้เองจริง ๆ มีแค่ 10%มั้ง เงิน เงิน เงิน
พ่อแม่บางคน เงินก็ไม่อยากเสีย (กินเปล่า) แต่อยากให้ลูกเข้าสาธิต เข้าไปได้ก็คงไม่มีประโยชน์อะไรมั้ง เพราะเด็กไม่มีความพร้อมในการเรียนที่ยากขี้น พูดง่าย ๆ ก็คือพ่อแม่ไม่คิดจะเตรียมสมองของลูกให้พร้อม เด็กฉลาดแค่ไหนก็ตามเด็กที่มีความพร้อมทุกด้านไม่ทันหรอก น่าเสียดาย
เออ. แล้วที่พ่อแม่ยากจนล่ะ จะให้ลูกสอบเข้าโรงเรียนของรัฐ โรงเรียนสาธิต ก็ยิ่งหมดหวัง หมดกำลังใจกันเข้าไปใหญ่น่ะสิ
มิน่าละ เด็กยากจนถึงไม่ค่อยจะได้เรียนฟรีในโรงเรียนของรัฐหรือโรงเรียนสาธิตดัง ๆ เพราะเขาเรียกเงินนี่เอง
คู่มือหนังสือเตรียมความพร้อมในการสอบเข้าสาธิต ป.1 (ซ้ำอีกครั้ง)
http://www.diaryclub.com/blog/sobsatit/20090322/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99.php
copy code ไปวางบน address ช่องบน คลิกลูกศรขวา
เว็บนี้น่าสนใจ คณิตศาสตร์ ป.1-3 และ Link ต่าง ๆ อีก
http://www.sema.go.th/taxonomy/term/1,9
Link ในเว็บข้างบน Miracle Math
http://www.sema.go.th/files/Content/Mat/k2/0003/Miracle%20Math/index.html
มาตราส่วน ชั่ง ตวง วัด (น่าจะประมาณนี้)
อันนี้ไม่ค่อยเข้าใจว่าคืออะไร
แต่สอยเว็บนี้มาก่อน
http://edtechno.msu.ac.th/mod/resource/view.php?id=90
อันนี้ก็เป็นประโยชน์ ลองอ่านดีดี เอาไปพัฒนาการผลิตวัสดุการสอนสำหรับเด็กเล็กน่าจะได้บ้าง
http://images.52010512091.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/S3Q-AgooCswAACByKtU1/4.%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%84.doc?nmid=317083112
search คณิตศาสตร์ ป.1 เรื่องความสัมพันธ์ในวงกลม (ในช่อง google)
เป็นประโยชน์น่าสนใจ freedownloadbooks คณิตศาสตร์ แต่ไม่แน่ใจว่าเหมาะสำหรับเด็กเล็กหรือเปล่า
http://freedownloadbooks.net/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9D%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%94-%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C-doc.html
โห ของเด็กโตนี่นา
ตัวอย่างคำอธิบายรายวิชา คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
รายวิชา คณิตศาสตร์ประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
จำนวนเวลา 180 ชั่วโมง
ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้
จำนวนนับ หลักเลขและค่าประจำหลัก ค่าของตัวเลขในแต่ละหลัก การเขียนใน
รูปกระจาย การเรียงลำดับจำนวน การประมาณค่าใกล้เคียงเป็นจำนวนเต็มสิบ เต็มร้อย เต็มพัน เต็มหมื่น เต็มแสน เต็มล้าน จำนวนเฉพาะ การแยกตัวประกอบ ห.ร.ม. ค.ร.น.
เศษส่วน เศษส่วนที่เท่ากัน การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับเศษส่วน สมบัติการ
สลับที่ของการบวก สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการบวก สมบัติการสลับที่ของการคูณ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการคูณ
ทศนิยม การอ่านและการเขียนทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง หลักเลขและค่าประจำ
หลัก ค่าของตัวเลขในแต่ละหลัก การเขียนในรูปกระจาย การเปรียบเทียบและการเรียงลำดับทศนิยม การเขียนทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งในรูปเศษส่วนและการเขียนเศษส่วนที่มีตัวส่วน เป็นตัวประกอบของ 10, 100 หรือ 1,000 ในรูปทศนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วน ทศนิยม และร้อยละ การประมาณค่าใกล้เคียงเป็นทศนิยมหนึ่งตำแหน่ง สองตำแหน่ง สมบัติการสลับที่ของการบวก สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการบวก สมบัติการสลับที่ของการคูณ สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการคูณ
การบวก การลบ การคูณ การหาร และโจทย์ปัญหา การบวก การลบ การคูณ และ
การหารจำนวนนับ การบวก ลบ คูณ หารจำนวนนับระคน การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วนระคน การบวก การลบ การคูณ และการหารที่ผลลัพธ์เป็นทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง โจทย์ปัญหาและโจทย์ปัญหาระคน โจทย์ปัญหาการคูณและการหาร (บัญญัติไตรยางค์) โจทย์ปัญหาร้อยละ
การหาความยาว ความยาวของเส้นรอบรูปวงกลม โจทย์ปัญหาและสถานการณ์
การหาพื้นที่ การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม การหาพื้นที่ของรูปวงกลม การ
คาดคะเนพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมเป็นตารางเมตร ตารางเซนติเมตา และตารางวา โจทย์ปัญหา และสถานการณ์
การหาปริมาตร การหาปริมาตรและ / หรือความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก
ทิศ แผนผัง แผนที่ การบอกชื่อและทิศทางของทิศทั้งแปดทิศ มาตราส่วน
การอ่านแผนที่และแผนผัง การเขียนแผนผัง
รูปเรขาคณิตและสมบัติบางประการของรูปเรขาคณิต มุมที่มีขนาดเท่ากัน
การแบ่งครึ่งมุมโดยใช้ไม้โพรแทรกเตอร์ การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงโดยใช้ไม้บรรทัด เส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม การสร้างรูปสี่เหลี่ยม ส่วนประกอบของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกระบอก กรวย ปริซึม พีระมิด รูปคลี่ สมบัติของเส้นขนาน การพิจารณาเส้นขนานโดยอาศัยสมบัติของเส้นขนาน
สมการและการแก้สมการ สมการที่มีตัวไม่ทราบค่า 1 ตัว สมการที่เป็นจริง
สมการที่เป็นเท็จ คำตอบของสมการ การแก้สมการที่มีตัวไม่ทราบค่า 1 ตัว โจทย์ปัญหา
สถิติและความน่าจะเป็นเบื้องต้น การอ่านและการเขียนแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบ
การอ่านและการเขียนกราฟเส้น การอ่านแผนภูมิรูปวงกลม การเก็บรวบรวมข้อมูล ความหมายและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแน่นอน อาจจะเกิดขึ้น
หรือไม่เกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นแน่นอน
การจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดย
ปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ / กระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งเห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบ รอบคอบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณและเชื่อมั่นในตนเอง
การวัดและประเมินผล ใช้วิธีการหลากหลายตามสภาพความเป็นจริงของเนื้อหา และ
ทักษะที่ต้องการวัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น